Read this article in English
บ่อยครั้งการแปลภาษาอังกฤษจากแหล่งความรู้ต่างๆ มักไม่ง่ายนักและไม่สามารถแปลได้แบบตรงๆ โดยเฉพาะเมื่อศัพท์เทคนิคเหล่านั้นเกี่ยวกับทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความหมายของศัพท์นั้นๆ จึงแปลแบบตรงตัวตามที่ปรากฏในภาษาอื่นๆ ไม่ได้ อย่างไรก็ดี ได้ปรากฏว่ามีความต้องการงานแปลงานทางเทคนิคเช่นนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้แก่ผู้ที่สนใจในภูมิภาคของเราซึ่งมีความหลากหลายทั้งภาษาและวัฒนธรรม
จากที่ได้มีการแปลบทความ “วิธีรักษาความปลอดภัยในโลกออนไลน์ 101” ในหลายๆ ภาษา รวมทั้งการแปลเป็นภาษาจีนมาแล้วในอดีต ซึ่งจริงๆแล้วการแปลบทความนี้เป็นผลงานของมูลนิธิ Open Culture Foundation (OCF) ในประเทศไต้หวันซึ่งเป็นส่วนหนี่งของชุมชน Coconet ของเรา
หลังจากนั้นเราได้เลือกแปลบทความทั้งสามชิ้นที่เกี่ยวกับสถานการณ์ของ AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เขียนโดย Jun-E Tan และแปลเป็นภาษาไทย โดย ธีรดา ณ จัตุรัส ผู้ที่ยินดีอาสาสมัครมาช่วยแปลบทความในซีรี่ย์ที่เกี่ยวกับ AI ซึ่งปัจจุบันธีรดาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางด้านการวางแผนนโยบายทางด้านการศึกษาของ UNESCO Paris หลังจากจบการศึกษาทางด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้วยปริญญาปรัชญา (MPhil in Digital Communications) จากมหาวิทยาลัย University of Westminster ในลอนดอน
ข้อความด้านล่างนี้เป็นความเห็นจากธีรดา เกี่ยวกับประสบการณ์ในการแปลจากไทยเป็นอังกฤษของบทความ AI ชุดนี้
“จากประสบการณ์ในการทำวิจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองในการสื่อสาร ทำให้ได้เห็นถึงความคล้ายคลึงหลายประการที่ปรากฏในบทความ AI และในงานวิทยานิพนธ์ของตนเอง ด้วยเหตุนี้ตนเองจึงมีความคุ้นเคยกับคำศัพท์เทคนิคเหล่านี้อยู่แล้วจึงทำให้แปลบทความได้เร็วขึ้น แถมยังช่วยให้ตนเองได้เรียนรู้ศัพท์เทคนิคใหม่ๆอีกด้วย ทั้งนี้บทความ AI ชุดนี้ยังได้สะท้อนถึงผลการวิจัยของงานวิทยานิพนธ์ของตนเองในหลายๆ ด้านที่เกี่ยวกับการเพิ่มการควบคุมอินเตอร์เน็ตที่มาจากความร่วมมือของรัฐเผด็จการและบริษัททางเทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งตนเห็นว่ามีความจำเป็นในการให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ผ่านทางหลักสูตรของโรงเรียน สถาบันการศึกษา และการสร้างทางเลือกอื่นๆ ในการสื่อสารที่ไม่ใช่แค่จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกระแสหลัก เพื่อการรักษาความเป็นนิรนามในการปกปิดอัตลักษณ์ของคนใช้อินเตอร์เน็ตเอง พร้อมทั้งยังช่วยปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เอง”
“ซึ่งการที่ได้อาสาแปลบทความครั้งนี้ช่วยให้ตนเองได้ทำความเข้าใจประเด็นใหม่ๆเกี่ยวกับ AI ที่มีผลต่อการพัฒนาทางสังคม และยังทำให้ตนเองได้รับรู้เกี่ยวกับการพัฒนาใหม่ๆที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ AI ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิทางพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสิทธิทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆของผู้คน โดยเฉพาะผู้ที่เห็นต่างจากรัฐ ผู้หญิง และเยาวชน นั่นทำให้ได้ไอเดียใหม่ๆที่ช่วยพัฒนาทั้งทางวิชาการและการทำงานของตนเองในอนาคต”
สามารถอ่านซีรีย์บทความเกี่ยวกับ AI เป็นภาษาไทยได้ที่
-
- Part 1: ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กับข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ภาพรวม
- Part 2: เราจะอยู่ร่วมกับ AI ได้หรือไม่: ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กับผลกระทบต่อสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
- Part 3: เมื่อ AI กลายเป็นอาวุธที่มีผลกระทบต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
ธีรดา ยังได้อธิบายเพิ่มเติมถึงความจำเป็นในการเพิ่มแหล่งความรู้ที่เกี่ยวกับ AI และ Machine Learning ในภาษาอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากภาษาอังกฤษเพื่อการเผยแพร่ความรู้ในภูมิภาคนี้ “ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่คิดต่างทางการเมือง ผู้ลี้ภัย บุคคลที่มีความต้องการช่วยเหลืออย่างเป็นพิเศษ เด็กผู้หญิง ผู้หญิง และชนกลุ่มน้อยต่างๆ ที่ขาดความชำนาญทางภาษาอังกฤษควรที่จะได้เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับความสำคัญในการรักษาความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ และสิทธิทางดิจิทัล (digital rights) ในภาษาของตน ซึ่งการรู้สิทธิต่างๆ เหล่านี้ก็จะช่วยให้พวกเราสามารถลุกขึ้นปกป้องสิทธิของตนเองจากการละเมิดสิทธิโดยรัฐ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลาย”
ขอบคุณธีรดาที่อาสาช่วยแปลงานเป็นภาษาไทย และสำหรับผู้ที่สนใจเป็นอาสาสมัครแปลบทความเป็นภาษาต่างๆ สามารถติดต่อทีมงานเรา เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้