Search
Close this search box.

“สิทธิดิจิทัล” คืออะไร?

This post was originally published on the Coconet website.

The views expressed in this post do not necessarily reflect the views of the Coconet community, EngageMedia, APC, or their funders. Copyright of the article is held by the author(s) of each article. Check out our Contribution Guidelines for more information. Want to translate this piece to a different language? Contact us via this form.

coconet-digital-rights
At Coconet II, 120 film-makers, researchers, human rights advocates, technologists, lawyers, academics, and journalists across the region working on issues such as disinformation, fake news, digital security among others.

READ THIS ARTICLE IN ENGLISH

เมื่อมีคนถามว่า “อะไรคือสิทธิดิจิทัล?” บ่อยครั้งคำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ “สิทธิมนุษยชนในโลกดิจิทัล” หรือ “สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นผ่านเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต

คำว่า “สิทธิมนุษยชน” มีนิยามที่ชัดเจนตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และถูกนำไปประยุกต์ใช้จริงกับกฎหมายจำนวนมาก ขณะที่คำว่า “ดิจิทัล” “เทคโนโลยี” หรือ “อินเทอร์เน็ต” ยังคงเป็นที่ถกเถียง ถูกตีความอย่างกว้างขวางและหลากหลายกว่า

“ หนังสือ” มักจะใช้ปนกับคำว่า“ออนไลน์” หรือ“ อินเทอร์เน็ต” ทั้งที่จริงๆ ดิจิทัลไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเสมอไป ข้อมูลไบโอเมทริกอย่างการจดจำใบหน้าหรือลายนิ้วมือเป็นหนึ่งในตัวอย่างว่าดิจิทัลไม่ใช่แค่เรื่องที่อยู่บนโลกออนไลน์เท่านั้น

ส่วนคำว่า “เทคโนโลยี” หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “เทค” (tech) ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมามักหมายถึงเทคโนโลยีดิจิทัลโดยเฉพาะ ซึ่งดูจะเป็นการมองข้ามคุณค่าและความสำคัญของเทคโนโลยีอนาล็อกไป หากคุณลองพิมพ์ค้นหาคำว่า “เทค” ดู ก็จะพบว่าผล การค้นหาเป็นเรื่องดิจิทัลเป็นส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกัน การถาโถมเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาก็เริ่มทำให้ใครหลายคนเริ่มโหยหาอดีต เห็นได้จากเทรนด์การกลับมาของสิ่งของตกยุคอย่างแผ่นเสียงและหรือหนังสือกระดาษที่ถูกมองว่าทรงคุณค่า

สำรวจนิยาม ความท้าทาย และสมมติฐาน

ในระหว่างค่ายสิทธิดิจิทัลที่มีชื่อว่า “Coconet II” เมื่อเดือนตุลาคมปี 2562 เราได้ให้ผู้เข้าร่วมทั้ง 120 คนช่วยกันนิยามสิทธิดิจิทัลในบริบทของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก แน่นอนว่าคำตอบที่ได้นั้นหลากหลายมาก ดังต่อไปนี้

  • สิทธิดิจิทัลคือการใช้สิทธิมนุษยชนสากลในพื้นที่ดิจิทัล
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิในการแสดงออกในพื้นที่ดิจิทัลที่เน้นเรื่องความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว มั่นคง และยั่งยืน
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งส่งเสริมการเปิดกว้าง การเข้าถึงสาธารณูปโภคและข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน สิทธิดิจิทัลรับประกันการควบคุม อำนาจเหนือตนเอง ตัวแทนของมนุษย์ และป้องกันการทำให้มนุษยชาติถูกนำมาแปลงเป็นเงินตราหรือถูกผูกขาด
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในสภาพแวดล้อมแบบดิจิทัล มักเกี่ยวข้องกับทั้งเสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการแสดงออก การรวมกลุ่ม การรวมตัว การเข้าถึงอุปกรณ์อินเทอร์เน็ต สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและแพลตฟอร์ม (เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอื่นๆ) ไปจนถึงการเข้าถึงพื้นที่ปลอดภัยบนสังคมออนไลน์ ความมั่นคง ความปลอดภัย และความเท่าเทียม
  • สิทธิดิจิทัลคือส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนที่รับรองว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ถูกจัดการแบบเปิดกว้าง รับผิดชอบ และโปร่งใส เพื่อรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยไม่คำนึงถึงเพศ รสนิยมทางเพศ อายุ เชื้อชาติ และอื่นๆ
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนแบบออนไลน์ซึ่งเอื้อให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลและเสรีภาพในการแสดงออกในพื้นที่ปลอดภัย เคารพความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนที่มีตามธรรมชาติ ทั้งสำหรับผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และผู้ที่ไม่ได้ใช้ รวมไปถึงการรับรองการเข้าถึงสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงข้อมูล เทคโนโลยี และองค์ความรู้ ปราศจากความรุนแรง การสอดแนม และการเลือกปฏิบัติ ตลอดจนเคารพความเป็นส่วนตัว อำนาจเหนือตนเอง และการตัดสินใจด้วยตนเอง
  • สิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง การมีส่วนร่วม ความปลอดภัยของข้อมูล และความเป็นส่วนตัว ด้วยค่านิยมที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางทั้งเรื่องศักดิ์ศรี ความเคารพ ความเท่าเทียม ความยุติธรรม ความรับผิดชอบ ความยินยอม และความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม
  • สิทธิดิจิทัลให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าบริษัทเอกชน และควรกระตุ้นการมีส่วนร่วมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

หลากหลายคำตอบจาก Coconet II เหล่านี้ตอกย้ำใจความสำคัญที่เราอ้างไว้ตั้งแต่ต้นว่าสิทธิดิจิทัลคือสิทธิมนุษยชนในโลกดิจิทัล อินเทอร์เน็ต เทคโนโลยี มีความหลากหลายอย่างมากเมื่อเทียบกับการตีความสิทธิมนุษยชน โดยดิจิทัลถูกตีความร่วมกับโลกออนไลน์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอยู่บ่อยครั้ง

ศัพท์อีกสองคำที่มักถูกใช้ปะปนกันคือ “จริง” และ “เสมือนจริง” ซึ่งมีนัยยะว่าการปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพนั้น “จริง” กว่าการปฏิสัมพันธ์แบบ “เสมือนจริง” บนโลกดิจิทัล แต่ถ้าใช้สมมติฐานนี้ แสดงว่าการปฏิสัมพันธ์ดิจิทัลทุกอย่างไม่เป็นเรื่องจริงหรือไม่? นัยยะสำคัญของสมมติฐานนี้คืออะไร? มันจะหมายความว่าการคุกคามออนไลน์ไม่ถือเป็นการคุกคามจริงๆ ได้หรือเปล่า? แล้วถ้าเป็นแบบนั้น การปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพถือว่าเป็นจริงทั้งหมดทุกกรณีหรือไม่? โลกออนไลน์และออฟไลน์มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนเสมอหรือว่ามันเกี่ยวโยงและมีอิทธิพลต่อกัน?

ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องคำถามอื่นๆ อีกมากมายที่ฟังดูอาจเหมือนง่ายแต่ไม่ง่ายรอให้เราตอบอีกมากมาย มาถึงตรงนี้คุณอาจระบุคำตรงข้ามทางดิจิทัลได้บ้างแล้ว เช่น ออนไลน์-ออฟไลน์ ดิจิทัล-อนาล็อก จริง-เสมือนจริง เป็นต้น แต่ผู้เขียนมองว่าโลกดิจิทัลมีความหลากหลายมากกว่าการตีความแบบขั้วตรงข้ามที่มีแค่สองด้าน

คำนิยามและสมมติฐานเหล่านี้เปิดกว้างต่อการอภิปรายถกเถียง บทความนี้ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อให้คำตอบที่สมบูรณ์ แต่เพื่อท้าทายความคิดของเรา และเพื่อพิจารณาความยุ่งเหยิงซับซ้อนในการตีความด้านสิทธิดิจิทัล ผู้เขียนตระหนักเป็นอย่างดีว่าการให้คำนิยามเรื่องนี้มีความหลากหลายแตกต่างกันออกไปอย่างมาก

ระบุขอบเขตและสร้างกรอบคิด

แน่นอนว่ามีความพยายามมากมายทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และท้องถิ่นในการแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของสิทธิดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น กฎบัตรสิทธิทางอินเทอร์เน็ตของ APC (APC Internet Rights Charter) และกฎบัตรสิทธิมนุษยชนและหลักการอินเทอร์เน็ต (Charter of Human Rights and Principles for the Internet) โดยภาคีพลวัตสิทธิและหลักการอินเทอร์เน็ต ณ การประชุมธรรมาภิบาลอินเทอร์เน็ตของสหประชาชาติ the UN Internet Governance Forum (IGF) กฎบัตรทั้งสองได้วางโครงสร้างว่ามาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนจะถูกนำมาตีความและประยุกต์ใช้กับโลกออนไลน์อย่างไรบ้าง

ขณะที่ปฏิญญาแอฟริกาว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพอินเทอร์เน็ต (The African Declaration on Internet Rights and Freedoms) เป็นข้อตกลงระดับภูมิภาคที่อธิบายหลักการที่จำเป็นในการปกป้องเสรีภาพบนอินเทอร์เน็ต ตลอดจนการสร้างสภาพแวดล้อมออนไลน์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาโดยเฉพาะ ส่วนภาคประชาสังคมในฟิลิปปินส์ก็เคยประกาศปฏิญญาฟิลิปปินส์ว่าด้วยเสรีภาพและหลักการอินเทอร์เน็ต (the Philippine Declaration on Internet Rights and Principles) เมื่อปี 2558 ซึ่งเป็นการระดมกำลังเพื่อสะท้อนความฝันและความหวังถึงอินเทอร์เน็ตที่พวกเขาอยากเห็น

การศึกษาขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อปี 2015 พบว่ามีปฏิญญาและเอกสารแนวทางที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตมากกว่า 50 ฉบับด้วยกัน และในปีเดียวกันนั้น ศูนย์เบิร์กแมนไคลน์เพื่อการวิจัยอินเทอร์เน็ตและสังคม (Berkman Klein Center for Internet and Society Research) ได้วิเคราะห์เอกสารลักษณะนี้รวม 30 ฉบับด้วยกัน โดยพบว่ามีสิทธิที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อยู่ 42 ประการด้วยกัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มหลัก ได้แก่ เสรีภาพในการแสดงออก สิทธิความเป็นส่วนตัว และสิทธิการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นสามกลุ่มที่ถูกพูดถึงมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล ความโปร่งใส การเปิดกว้างของระบบธรรมาภิบาลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ข้อเสนอ: สิทธิดิจิทัลสี่ขอบเขต

Jun-E Tanผู้เข้าร่วม Coconet II จากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีประสบการณ์วิจัยด้านสิทธิดิจิทัลในอาเซียน ระบุว่าการศึกษาและงานวิจัยต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลมักจะเลือกหยิบสิทธิแค่ 2-3 ประการที่เป็นประโยชน์มาศึกษา เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์และงานรณรงค์ของพวกเขาเท่านั้น โดยเธอระบุว่าถ้าปราศจากขอบเขตกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลแล้ว เราอาจจะหลงลืมหรือมองข้ามสิทธิประการอื่นๆ ที่ก็อาจมีความสำคัญไม่แพ้กันไปได้

ในงานวิจัยเกี่ยวกับสิทธิดิจิทัลในอาเซียนเมื่อปี 2019 Jun-E เสนอให้มีการขยายกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลเป็น 4 ขอบเขตด้วยกัน คือ

  1. การมองว่าดิจิทัลเป็นพื้นที่ๆ หนึ่ง ดังนั้น สิทธิดิจิทัลก็คือสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ดิจิทัล
  2. การมองว่าดิจิทัลเป็นข้อมูลตัวแทนของตัวตนทางกายภาพ ดังนั้น สิทธิดิจิทัลจึงพุ่งเป้าไปที่ความปลอดภัยทางข้อมูลและความเป็นส่วนตัว
  3. การเข้าถึงพื้นที่ดิจิทัลและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย
  4. การมีส่วนร่วมในระบบธรรมาภิบาลดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต
ตารางจากวิจัยของ Jun-E ที่ชื่อว่า "Exploring the Nexus Between Technologies and Human Rights: Opportunities and Challenges in Southeast Asia"
แน่นอนว่าข้อเสนอของ Jun-E ไม่อาจสรุปเป็นกรอบความคิดที่ครอบคลุมทุกประเด็นได้ เพราะต้องคำนึงว่ากรอบคิดของเธอสร้างมาจากการศึกษาวิจัยจากประเทศมาเลเซีย ไทย และฟิลิปปินส์เท่านั้น (คุณสามารถอ่านงานวิจัยของเธอเพื่อศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความซับซ้อนและความท้าทายในการสร้างกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลในบริบทอาเซียนได้) อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งข้างต้นว่ามีความพยายามที่จะระบุนิยามและสร้างกรอบคิดเรื่องสิทธิดิจิทัลที่หลากหลายในแต่ละมุมโลก ซึ่งรวมถึงบริบทของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกด้วย เราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแลกเปลี่ยนและร่วมแบ่งปันความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม Coconet จะช่วยกันสร้างกลยุทธ์และขบวนการขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิดิจิทัล ตลอดจนยังได้ทบทวนความคิดเกี่ยวกับขอบเขตของสิทธิดิจิทัลได้มากขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าคุณมีข้อเสนอหรือไอเดียใดที่น่าสนใจ สามารถบอกเราได้เลย
Kathleen Azali ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Digital Rights Program Manager ที่องค์กร EngageMedia เธอเป็นนักวิจัยสายนักกิจกรรมที่ทำงานในประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี การออกแบบ และเศรษฐศาสตร์การเมือง